วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับปลาทอง

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับปลาทอง
1. ปลาทองเป็นปลาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน
2. ปลาทองถูกนำไปเลี้ยงยังต่างประเทศ ประเทศแรกที่นำไปเลี้ยงคือญี่ปุ่น
3. การฟักตัวของไข่ปลาทองจะขึ้รอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและสภาพของไข่ ในอุณหภูมิ 15-19 ํc
4. ญี่ปุ่นคือประเทศแรกที่พัฒนาปรับปรุงพันธ์ปลาทองให้มีความสวยงาม แม้จะเลี้ยงหลังประเทศจีนก็ตาม
5. ปลาทองสามารถอดอาหารได้นานนับเดือน จากสถิติพบว่าบางตัวอดอาหารได้เกือบ 9 เดือนเต็ม
6. ช่วงอุณหภูมิที่ปลาทองสามารถปรับอยู่ไดจะอยู่ระหว่าง 0-35 ํc และช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุด
คือ 20-25 ํc
7. ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการฟักไข่ปลาทองกับอุณหภูมิของน้ำ
8. ในการเลือกซื้อปลาทอง ควรเลือกปลาตัวที่ไม่เก็บครีบแนบกับลำตัวเพราะถือเป็นปลาที่มีลักษณะด้อย
9. สังเกตที่สีสันของปลา เลือกปลาที่มีสีสันสดที่สุด หลีกเลี่ยงปลาตัวที่มีหม่นหมองหรือสีจาง ๆ
10. สังเกตดูลักษณะการว่ายน้ำไปในสายน้ำ เลือกปลาตัวที่ว่ายน้ำไปได้อย่างปราดเปรียวและคล่องแคล่วที่สุด
11. สังเกตดูในขณะที่ปลาว่ายอยู่ในตู้ ครีบบนหลังตั้งชู แม้ว่าจะพลิ้วไปในสายน้ำ แต่ไม่ควรจะมีลักษณะงองุ้มหรือหักเข้าข้างลำตัว ปลาที่มีครีบตั้งขึ้นแสลงว่าเป็นปลาที่คุณภาพดีมาก
12. อย่าเลือกซื้อปลาตัวที่เคลื่อนไหวอยู่กับกรวดทรายก้นตู้ปลา หรือไม่ว่ายน้ำแต่นิ่งซึมอยู๋มุมใดมุมหนึ่งก้นตู้ เพราะนั่นเป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าปลาสุขภาพไม่ดีหรืออาจตายได้ง่าย
13. พยายามหาจุดสีขาวบนตัวปลา โดยอาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นจุดธรรมชาติของปลา หากปลาทองมีจุดฝ้าสีขาวอยู่บนลำตัวนั่นคือปลาที่เจ็บป่วย
14. น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิาต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์
15. ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
16. ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป
17. การเร่งหรือยืดเวลาในการฟักไข่ของปลาทองโดยการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำไม่มีผลให้ลูกปลามีสภาพดีขึ้นแต่กลับเกิดผลเสียมากกว่า
18. การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

หลักการจัดตู้ปลา

...สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงปลา คือ การจัดตู้ปลาให้ดูสวยงาม ชวนมอง เป็นเสมือนมุมพักสายตาหรือที่สงบใจของเรา ซึ่งวิธีการจัดตู้ปลาในส่วนใหญ่นั้นจะมีดังต่อไปนี้

1)ตู้ปลา ที่นิยมมี 2 แบบ
1.1) ตู้ปลาทรงกรม


1.2) ตู้ปลาเหลี่ยม


2)ฝาปิดตู้ปลา ทำด้วยพลาสติก ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำและป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก


3) เครื่องปั้มอากาศ

การใช้เครื่อง

3.1) ควรติดตั้งให้เหนือกว่าตัวปลา เพื่อสะดวกในการดันอากาศ

3.2) การติดตั้งเครื่องปั้มอากาศ ควรอยู่ให้ห่างจากฝุ่นละอองเพราะฝุ่นละอองอาจทำให้เสียหายได้

4)ระบบการกรองน้ำ เครื่องกรองน้ำสามารถดูดสิ่งสกปรก ทำให้น้ำในตู้ปลาสะอาดตลอดเวลา

5) พันธุ์ไม้น้ำ หลักในการเลือก มี2ประการคือ

5.1) พิจารณาว่าพันธุ์ไม้นี้ชอบแสงสว่างหรือไม่

5.2) พิจารณาว่าพันธุ์ไม้นี้ต้องการดินหรือกรวดในการยึดรากหรือไม่



6) กรวด เป็นวัสดุที่ตกแต่งเพื่อทำให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ กรวดที่ดีควรมีขนาด 3มม.ไม่ควรละเอียดหรือหยาบจนเกินไป


7)น้ำ ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำประปาที่ผ่านการกับไว้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป


8) ตอไม้ ทำให้ทัศนียภาพดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น



9) เปลือกหอย สามารถตกแต่งเพื่อให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แต่ก่อนนำเปลือกหอยมาลงควรแช่น้ำเพื่อให้ความเค็มให้หายไปก่อน


10) สิ่งประดับบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นภาพวิว รากไม้ หุ่นพลาสติก ล้วนแต่ทำให้ตู้ปลาของเราดูสวยงามและเป็นธรรมชาติมากขึ้น

...สรุป การตกแต่งตู้ปลานั้นไม่มีมาตราฐานตายตัว แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่อยู่ที่สิ่งตกแต่งที่มีราคาแพง หรือ ปลาราคาแพง แต่มันอยู่ที่คุณกับปลาของคุณมีความผูกพันและรักกันจริงๆหรือเปล่าครับ

โรคของปลาทองและวิธีการรักษา

...ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วหลังจากที่เราได้รู้จักวิธีเลือกเจ้าหัววุ้นแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเราควรจะรู้ลักษณะ อาการแต่ละโรคของเจ้าหัววุ้นของเราด้วย เพื่อที่จะทำให้มันอยู่กับเราไปนานๆ

โรคของปลาทองและวิธีการรักษา
1) โรคหนอนสมอ (Anchor worms)
อาการ : หนอนสมอจะมีขนาดความยาว 0.6-1 เซนติเมตร หนอนสมอจะใช้ส่วนหัวฝังเข้าไปในตัวปลาและยื่นส่วนหางออกมาทำให้เห็นเหมือนมีเส้นด้ายเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา ถ้าดึงออก ส่วนที่เป็นสมอมักจะขาดติดอยู่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดแผล เป็นทางให้แบคทีเรียเข้าสู่ตัวปลาได้ ปลาที่พบหนอนสมอจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือบ่อ และมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำตามตัว เนื่องจากปลาระคายเคืองเป็นอย่างมาก จะเอาตัวถูข้างบ่อ

การรักษา : แช่ปลาในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ตลอดไป และแช่ซ้ำทุก 7 วัน รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้งหรือเวลารักษา 1 เดือน


2) โรคเห็บ Fish lice

อาการ : เห็บมีลักษณะกลมแบบคล้ายรูปจาน ขนาดยาว 3 - 5 มิลลิเมตร มีขา 8 ขา แต่ละขายังแยกเป็นขาละ 2 คู่ ปลาที่มีเห็บเกาะอยู่จะว่ายถูตัวกับข้างบ่อ เพื่อให้เห็บหลุด เกล็ดปลาจะหลุดเป็นแผล ซึ่งทำความเสียหายมากเนื่องจากปรสิตนี้สามารถขยายพันธุ์เร็ว
การรักษา : แช่ปลาที่มีเห็บในสารละลาย ดิพเทอเร็กซ์ในอัตราส่วน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ตลอดไปและแช่ซ้ำทุก 7 วันต่อครั้ง รวมระยะเวลารักษา 4 ครั้ง หรือเวลารักษา 1 เดือน

3) โรคท้องบวม (Abdominal dropsy)
อาการ : เป็นโรคที่ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรีย ปลาจะมีอาการเซื่องซึม ไม่เคลื่อนไหว อยู่ใต้ผิวน้ำหรือจมก้นบ่อ ปลาไม่ค่อยกินอาหารในแบบเฉียบพลัน ส่วนท้องจะบวมมาก มีน้ำสีแดงออกมาจากช่องท้อง และอาจเกิดเกล็ดตั้งขึ้น ส่วนแบบเรื้อรัง ผิวหนังของปลาจะเป็นรอยช้ำตกเลือด
การรักษา : แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือเตตร้าซัยคลิน ในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัม
ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 2-3 วัน จึงถ่ายน้ำใหม่แล้วแช่ยาซ้ำอีก:ไม่ควรเลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไปและควรให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม



4) โรคเวลเว็ทหรือโอโอดิเนียม (Velvet disease)
อาการ : เป็นโรคที่เกิดจากปรสิต (Oodinium sp.) มีสีน้ำตาลคล้ายสนิมเกาะตามลำตัว เหงือก ถ้ามีเป็นจำนวนมากจะทำให้ปลาว่ายน้ำทุรนทุราย เนื่องจากหายใจไม่ออก
การรักษา : แช่ปลาในน้ำเกลืออัตราส่วน เกลือ 1 กิโลกรัมในน้ำ 100 ลิตร แช่จนปลาเริ่มว่ายน้ำกระสับกระส่ายจึงจับปลาออก และอาจต้องทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 2-3 วัน


5) โรคเหงือกอักเสบหรือเหงือกเน่า (Gill rot)
อาการ : เหงือกปลาจะบวมแดง เกิดการเน่าและแหว่งหายไป ปลาหายใจถี่ผิดปกติ และขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ หรือว่ายไปอยู่ที่ท่อออกซิเจน
การรักษา : ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยขึ้น และให้ออกซิเจน หรือใช้ด่างทับทิม 3-4กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตร
แช่ตลอดไป


6) โรคครีบและหางเปื่อย
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกินอาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลาได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วย
การรักษา : แช่ปลาป่วยด้วยฟอร์มาลิน 25 - 45ซีซี/ น้ำ 1,000ลิตร แช่ปลานาน 2วัน ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซน ในอัตราส่วน 1-2กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตรแช่ปลานาน 2-3วัน


....สรุป เห็นไหมละครับว่าไม่ใช่แค่คนอย่างเราๆเท่านั้นที่ป่วย เจ้าหัววุ้นของเราก็มีโอกาสป่วยหรือมีบาดแผลได้ หากเราไม่ดูแลมันอย่างถูกวิธี และเมื่อมันป่วยมาแล้ว เราก็ควรรักษามันนะครับอย่าบ่อยมันไปเฉยๆสงสารมัน 1ชีวิตเท่ากัน และที่สำคัญอีกอย่างโรคบางโรคมันอาจนำไปติดเพื่อนๆในตู้ปลาได้อีกด้วย

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีการเลือกซื้อเจ้าหัววุ้น

ข้อแรก คุณควรเลือกซื้อปลาทองจากร้านค้าปลาทองที่มีความน่าเชื่อถือ และคุณควรดูลักษณะปลาทองตามสายพันธุ์ที่คุณจะเลี้ยงไว้บ้างพอสมควร ข้อสำคัญควรสอบถามราคาปลาทองแต่ละชนิดไว้เป็นข้อเปรียบเทียบความแตกต่างกันด้วย

ข้อสอง คุณควรเลือกซื้อปลาทองที่แข็งแรงปราศจากโรค หรือปลาทองที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากการขนส่ง โดยสังเกตุการว่ายน้ำของปลาจะต้องว่ายน้ำตลอดเวลาไม่อยู่นิ่ง ๆ และการว่ายน้ำนั้นต้องไม่ผิดปกติ เช่นว่ายหมุนควงตีลังกา หรือว่ายสั่นกระตุก คุณควรเลือกซื้อปลาที่มีความกระตือรือล้น มีการเคลื่อนไหวไปมาปกติ



ข้อสาม หลีกเลี่ยงการซื้อปลาที่มีลักษณะผอมแห้งหรืออ้วนผิดรูปทรง ครีบไม่ครบ ครีบที่เป็นคู่นั้นสั้นข้างยาวข้างเล็กบ้างใหญ่บ้าง ตามตู้ปลามีปลาตายอยู่หรือไม่ ถ้าเห็นเช่นนั้นแล้วพึงควรหลีกเลี่ยงไว้ด้วย ปลาทองที่ดีและไม่เป็นโรคนั้นสังเกตได้จากความสดใสบนตัวปลาจะต้องไม่มีรอยขีดขูดใด ๆ เกล็ดต้องมีความแวววาวและเป็นระเบียบ ครีบทุกครีบต้องไม่ขาดวิ่นหรือเปื่อย



....สรุป ผมหวังว่าสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆตัดสินใจได้เร็วขึ้น แต่ผมอยากขอร้องให้เพื่อนๆที่ต้องการเลี้ยงปลาทอง ก็ควรมีเวลาเอาใจใส่พวกมันบ้างนะครับ อย่าคิดว่าอยากได้แล้วจึงไปซื้อ พอได้มาก็ไม่ใส่ใจมันสุดท้ายมันก็ตายไป เราควรถามใจเราก่อนนะครับว่าพร้อมเลี้ยงมันไหม และที่สำคัญถูกแพงไม่สำคัญเท่ากับเรารักมันจริงๆไหมครับ

วิธีการเลี้ยงเจ้าหัววุ้น


....วันนี้ผมจะมาขอแนะนำเกล็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงเจ้าหัววุ้น หรือ ปลาทองของเราๆนั้นเอง ซึ่งนอกจากจะมีวิธีการเลี้ยงแล้วยังรวมไปถึงการหาแหล่งที่อยู่อาศัย และอาหาร และการควบคุมระดับน้ำในตู้ปลา ของเจ้าหัววุ้น โดยที่จะมาแนะนำให้กับเพื่อนๆในวันนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและทำได้จริง ราคาก็ไม่แพงครับ ผมจะขอเข้าเรื่องเลยแล้วกันนะครับ

การเลี้ยงปลาทอง
การเลี้ยงปลาทองสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ถังไฟเบอร์ ตู้กระจก ฯลฯ ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลาเช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคาหรือร่มเงาให้แสงส่องลงได้เพียง 25-40 % บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะจะทำให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอเหมาะกับความเป็นอยู่ของปลา





อาหารที่ใช้เลี้ยง
อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนแดง หรืออาร์ทีเมีย อาหารมีชีวิตเหล่านี้จะทำให้ปลาโตเร็ว และปลากินได้ตลอดเวลา การให้อาหารจะให้วันละ 2-3 % โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า – เย็นจึงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดี และมีสีสันสวยงาม



คุณสมบัติของน้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำสะอาด ใช้น้ำบาดาลน้ำจากแม่น้ำ ควรดูดตะกอนก้นบ่อออกทุก ๆ 3 วัน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม การเลี้ยงปลาทองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย เพราะจะทำให้ปลาช้ำและเกิดโรคง่าย จะเปลี่ยน 3 เดือนต่อครั้ง


...สรุป สิ่งเหล่านี้คือเกล็ดความรู้ที่สามารถทำให้เพื่อนๆมีความเข้าใจ ในการหาแหล่งที่อยู่อาศัย,อาหาร รวมไปถึงการเปลี่ยนน้ำให้กับเจ้าหัววุ้น ผมหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆที่รักและสนใจในตัวปลาทองกันทุกคนนะครับ

สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย

....เมื่อครั้งที่แล้วผมพาเพื่อนๆไปดูสถานที่ขายปลาทองหรือเจ้าหัววุ้นของเรา หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาไม่มากก็น้อย สถานที่หลายๆแห่ง เพื่อนๆอาจจะคุ้นหูคุ้นตา และอาจได้เคยมีโอกาสไปมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเพื่อนที่เพิ่งสนใจเรื่องปลาทองนี้ก็คงได้ประโยชน์ไปบ้างนะครับในครั้งนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูกันว่า สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรานั้น มีพันธุ์อะไรกันบ้าง


ในครั้งนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูกันว่า สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรานั้น มีพันธุ์อะไรกันบ้าง

1.ปลาทองหัวสิงห์จีน

ลักษณะเด่นของปลาพันธุ์นี้ คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่าลำตัวมาก ส่วนวุ้นที่หัวมีมากและหนาแน่นกว่าสิงห์สายพันธุ์อื่น วุ้นมีทั้งบนหัวและที่ฝาเหงือกทั้งสองข้างเรียกว่า โอคาเหมะ (Okame) แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกปลาที่มีวุ้นบนหัวว่า รันชู (Ranchu) ส่วนหลังของปลาลาดโค้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีครีบบนหลัง หางจะหนาและใหญ่กว่าสิงห์พันธุ์อื่นๆ ปลาส่วนมากมีสีแดง และโตตามขนาดบ่อที่เลี้ยงได้ประมาณ 20-25 ชม.



2.ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น


เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น 45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง (พันธุ์นี้จะเห็นกันมากในบ้านเรา)


3. ปลาทองหัวสิงห์สยาม


เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด

4 . ปลาทองสิงห์ตากลับ


มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เรียกว่า โซเตนกัน ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมรันชู ส่วนหัวของปลามีวุ้นเล็กน้อย ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่มีลำตัวที่ยาวกว่าสิงห์จีนมาก มีสีแดง


5.ปลาทองฮอลันดาหัววุ้น


ญี่ปุ่นเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และเรียกว่า ฮอรันดาชิชิกาชิระ มีวุ้นบนส่วนหัวของปลาจะมีมาก และมองเห็นเป็นก้อนกลม มีครีบบนหลังปลา และครีบหางกางแผ่กว้างยาวกว่าปลาสิงห ์มีสีแดงและขาวสลับแดง (พันธุ์นี้ได้รับความนิยมให้เป็นนักแสดงในภาพยนตร์มากมาย)

6.ปลาทองโคเมท


เป็นปลาที่มีรูปทรงคล้ายปลาคร็าฟมากแต่มีหางที่ยาวกว่าปลาคร็าฟ ปลาพันธุ์นี้จะมีสีดังนี้คือ แดงทั้งตัว แดงสลับขาว และห้าสีในปลาตัวเดียวคือแดง ดำ ขาว ส้ม ฟ้า


7.ปลาทองเกล็ดแก้ว


ประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาเกล็ดแก้วหน้าหนู ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาพันธุ์อื่นๆ มีทรงอ้วนกลมกว่าพันธุ์ริวกิ้น เกล็ดตามลำตัวปลาเกือบทั้งหมดหนาและแข็งโปนออกมาจากลำตัว มี 3 สายพันธุ์ได้แก่ เกล็ดแก้วหน้าหนู เกล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้วหัวมงกุฎ


... สรุป สายพันธุ์ปลาทองนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ผมนำมานำเสนอให้เพื่อนๆดูนั้น คือเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้นิยมปลาทองในบ้านเรา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็มีความสวย มีเสน่ห์ ในตัวของมันทั้งหมด อยู่ที่ว่าเราชอบแบบไหนมากกว่าครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตลาดปลาสวยงามในประเทศไทย

...ผมเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักปลาทอง กันมาไม่มากก็น้อย เชื่อหรือไม่ครับว่าเจ้าปลาทองหัววุ้นนั้นเกิดมาบนโลกราวๆ2000ปี ตั้งแต่วงศ์ ไซไพร์นิดี้ แต่ประวัตินั้นไม่ได้ระบุว่าพวกหัววุ้นเข้ามาอยู่ในประเทศของเราตั้งแต่สมัยใด และด้วยความที่มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก ตัวอ้วนๆ หัวโตๆ ตากลมๆ ถอดแบบอาหมวยบ้านเรา (เอ้ยไม่ใช่) ด้วยเหตุนี้เจ้าหัววุ้นจึงเข้าไปอยู่ในใจของผู้ที่ชื่นชอบปลาเป็นพิเศษอย่าง่ายดาย และในวันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูว่า เราจะสามารถหาซื้อเจ้าหัววุ้นสวยๆได้ที่ไหนกันบ้างครับ


1)

ตลาดซันเดย์ Sunday Market
เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์วันอังคารเป็นวันขายส่ง เปิดขายเวลา 09.00 - 18.00 น. วันพุธ - วันอาทิตย์ เปิดขายเวลา 09.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์เด็ก จตุจักร ถ.กำแพงเพชร แขวงลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ




2)

ตลาดนัดจตุจักร Jutujak Market
เปิดขายวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกรมการขนส่งทางบก ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ



3)

จตุจักรพลาซ่า Jutujak Plaza

เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.

สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามตลาดเซเว่นเดย์ ถ.กำแพงเพชร2 แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ

4)

ตลาดศรีสมรัตน์ Srisomrat Market

เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์ 10.00 - 18.00 น.

สถานที่ตั้ง อยู่ด้านหลังตลาดซันเดย์ บริเวณติดกับลานจอดรถ ถ.กำแพงเพชร2 แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ


5)



ตลาดนัดธนบุรี สนามหลวง 2 Ton Buri

เปิดขายทุกวัน แต่จะมีสินค้ามากในวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดเวลา 09.00 - 18.00 น.

สถานที่ตั้ง อยู่ระหว่างพุทธมณฑลสาย3 และสาย4 ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ



6)

ตลาดปลาสวยงามที่ตลาดไท
เปิดทุกวัน 10.00 - 18.00 น.

สถานที่ตั้ง ถ.รังสิต-นครนายก เขต ทองหลวง จ.ปทุมธานี

....สรุป ผมหวังว่าสถานที่เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆไปรับตัวเจ้าหัววุ้นมาได้นะครับ แต่ผมอยากขอร้องให้ทุกๆท่านที่ต้องการเลี้ยงเจ้าหัววุ้น ควรมีเวลาเอาใจใส่พวกมันบ้างนะครับ อย่าคิดว่าอยากได้แล้วจึงไปซื้อ พอได้มาก็ไม่ใส่ใจมันสุดท้ายมันก็ตายไป เราควรถามใจเราก่อนนะครับว่าพร้อมเลี้ยงมันไหม และที่สำคัญถูกแพงไม่สำคัญเท่ากับเรารักมันจริงๆไหม